โครงการจัดการเรียนรู้นอกระบบการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็น
และการเห็นคุณค่าในตนของเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม


แนวคิดโครงการ
ครงการจัดการเรียนรู้นอกระบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นและการเห็นคุณค่าในตนของเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ภายใต้โครงการพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเยาวชนนอกระบบการศึกษา ปี 2566 ซึ่งเป็นโครงการที่ศูนย์การเรียนดำเนินการกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม จำนวน 35 คน ได้แก่ เยาวชนนอกระบบการศึกษาในกระบวนการยุติธรรม (มาตรา 86, มาตรา 132 วรรคหนึ่ง) เยาวชนในกระบวนการยุติธรรมเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย เยาวชนติดตามหลังปล่อย (1 ปี) เยาวชนระยะหลังติดตาม เยาวชนในกระบวนการยุติธรรมซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาและคดีแพ่ง เยาวชนซึ่งมีพฤติการกระทำผิดพลาดแต่มิได้ถูกดำเนินคดี ตลอดจนเยาวชนที่ออกจากการศึกษากลางคัน/เยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษาซึ่งเป็นนิเวศของเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนนอกระบบการศึกษาในกระบวนการยุติธรรมกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาแบบนำตนเองผ่านหลักสูตรของศูนย์การเรียนอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม รวมทั้งเพื่อให้เยาวชนนอกระบบการศึกษาในกระบวนการยุติธรรมที่เข้าร่วมโครงการเกิดสมรรถนะที่จำเป็นด้านความรู้ ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ ทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต และมีเจตคติที่จำเป็นสำหรับการเป็นพลเมืองของสังคม และเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงแก่เยาวชนนอกระบบการศึกษาในกระบวนการยุติธรรมที่เข้าร่วมโครงการให้เห็นคุณค่าในตน เป็นที่ยอมรับของครอบครัว ชุมชน และสังคม สามารถประกอบสัมมาอาชีพตามความพร้อมและศักยภาพของตนเองอย่างยั่งยืน ซึ่งจะดำเนินการในพื้นที่ 3 ตำบล 1 พื้นที่ ได้แก่ ตำบลคุ้งตะเภา ตำบลป่าเซ่า ตำบลท่าอิฐ และพื้นที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีระยะเวลาของโครงการ 12 เดือน
กิจกรรมโครงการ
ครงการจัดการเรียนรู้นอกระบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นและการเห็นคุณค่าในตนของเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม มีการออกแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมกระบวนการสมรรถนะที่จำเป็นด้านความรู้ ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ ทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต และมีเจตคติที่จำเป็นสำหรับการเป็นพลเมืองของสังคม และเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงแก่เยาวชนนอกระบบการศึกษาในกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมโรงเรียนโฮมเพลิน (Homeplearn School) 2) กิจกรรมเสริมสร้างสำนึกคนกล้า ระยะที่ 1 (เปลี่ยนแปลงแนวคิดเพื่อสร้างการเห็นคุณค่าในตน) 3) กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตร 4) กิจกรรมการเสริมสร้าง “ซุปเปอร์ฮีโร่” ด้วยกระบวนการมหาบวรสร้างสุข 4) กิจกรรมเสริมสร้างสำนึกคนกล้า ระยะที่ 2 (เปิดพื้นที่เยาวชนสร้างสรรค์) 5) กิจกรรมเสริมสร้างสำนึกคนกล้า ระยะที่ 3 (เยาวชนผู้นำการเปลี่ยนแปลง) 6) กิจกรรมการสร้างเครือข่ายเยาวชนคนกล้า และ 7) กิจกรรมการสร้างเครือข่ายโรงเรียนโฮมเพลิน (Homeplearn school)

คณะทำงานโครงการ
ครงการจัดการเรียนรู้นอกระบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นและการเห็นคุณค่าในตนของเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม ประกอบด้วยคณะทำงานหลายภาคส่วน ซึ่งทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ ได้แก่ นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บุคลากรจากสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดอุตรดิตถ์ ศึกษานิเทศก์จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 นักการศึกษา และคณะทำงานจากศูนย์การเรียนสถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อสังคม ประกอบด้วย
Untitled-1
รองศาสตราจารย์ ดร.ชรินทร์  มั่งคั่ง
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ที่ปรึกษาโครงการ
ดร.นวรัตน์ ทรงเกียรติกุล
ดร.นวรัตน์  ทรงเกียรติกุล
ผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุตรดิตถ์
ที่ปรึกษาคณะทำงาน
ผอ.ชัชวาลย์ บุตรทอง
นายชัชวาลย์  บุตรทอง
ผู้อำนวยการศูนย์การเรียน สกรส.
ผู้รับผิดชอบโครงการ/ผู้จัดการโครงการ
ผศ.ดร.สุพิน ใจแก้ว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพิน  ใจแก้ว
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
คณะทำงานหนุนเสริมวิชาการโครงการ
Untitled-2
นางสาวเกตน์นิภา  ฮาดคันทุง
ศึกษานิเทศก์ สพป.อุตรดิตถ์ เขต 2
คณะทำงาน
อุไร ทิพย์เทียม
นางสาวอุไร  ทิพย์เทียม
ประธานกรรมการสงเคราะห์ฯ สถานพินิจ อต
คณะทำงาน
รัตติยา
นางสาวรัตติยาพร  ฟูแสง
ครูโรงเรียนวัดปากพิงตะวันตก
คณะทำงาน
คนอง มิตรมาตร
นายคนอง  มิตรมาตร
สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จ.อุตรดิตถ์
คณะทำงาน
ภาพเพ็ญนภา
นางสาวเพ็ญนภา  กฤชทองคำ
เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ
เลขานุการและคณะทำงาน